top of page
บทความ: Blog2

ธุรกิจครอบครัว ทำไมถึงมักทำให้ล่มสลายใน 3 รุ่น เจาะลึก 4 ประเด็นสำคัญพร้อมวิธีแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน

อัปเดตเมื่อ 24 ธ.ค. 2563




ธุรกิจครอบครัว Family Business นับเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยคิดเป็นสัดส่วนกว่า 80% ของกิจการทั้งหมดในไทย แต่ในทางกลับกันเราจะเห็นจากผลสำรวจหลากหลายที่ บ่งบอกว่าธุรกิจเหล่านั้นมีอัตราการเหลือรอดไม่ถึง 5% เมื่อดำเนินกิจการมาถึงรุ่นที่ 4


4 ปัญหาสำคัญที่ทำให้ธุรกิจครอบครัวไม่สามารถดำเนินกิจการได้อย่างยั่งยืน



1.กิจการครอบครัวมักขาดการวางแผนด้านส่งต่อ


จากผลสำรวจของ PWC พบว่า ธุรกิจมากกว่า 50% ไม่มีการวางแผนการสืบทอดกิจการ และคิดว่าหน้าที่การสืบทอดธุรกิจนั้นจะตกเป็นของคนๆหนึ่ง โดยเป็นอันรู้กันในครอบครัว ซึ่งอาจจะเป็นลูกคนโตที่เข้ามาสานต่อธุรกิจ หรืออาจจะปล่อยให้ทายาทไปตกลงกันเองในอนาคต


แต่ในความเป็นจริงแล้ว การวางแผนสืบทอดเป็นเรื่องที่ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วม ทั้งในกระบวนการเลือกผู้สืบทอดและการเตรียมความพร้อมของทายาทธุรกิจ ไม่ใช่แค่การเลือกจากความเห็นของผู้บริหารในรุ่นปัจจุบัน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้นำครอบครัวเสียชีวิตโดยไม่มีการวางแผนรองรับ จะทำให้ระบบการบริหารการจัดการเกิดความยุ่งยาก การวางแผนด้านการส่งต่อธุรกิจที่ดีจะต้องมีความครอบคลุมในด้านของระบบการทำงานของบุคลากรทุกคนเมื่อผู้บริหารนั้นเปลี่ยนมือ




2.ความขัดแย้งในครอบครัว และการบริหารทรัพย์สินที่ไม่เป็นระบบ


ความขัดแย้งในธุรกิจเป็นเรื่องที่ทุกกิจการมักจะพบเจอซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ แต่การที่ครอบครัวไม่มีวิธีบริหารความขัดแย้งนั้นเป็นรากฐานของปัญหาที่ก่อให้เกิดการล่มสลายของกิจการ ดังนั้นการหาวิธีเพื่อป้องกันหรือแก้ปัญหาความขัดแย้งในธุรกิจครอบครัวจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ถึงแม้จะเป็นธุรกิจครอบครัวก็ต้องมีการดำเนินกิจการด้วยความเป็นมืออาชีพ การแก้ปัญหาความไม่ลงรอยกัน ก็ต้องที่จะมีการจัดการที่เป็นมาตรฐานและหาทางออกไปพร้อมกัน


หนึ่งในปัญหาคลาสสิกที่ครอบครัวไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ตามมักจะพบเจอคงหนีไม่พ้นเรื่องของทรัพย์สิน ซึ่งมักเป็นสาเหตุของปัญหาทั้งเรื่องเล็กน้อยและเรื่องใหญ่ ดังนั้นหากต้องการที่จะลดปัญหาของการอยู่ร่วมกันหรือทำงานร่วมกัน สิ่งที่ควรจะต้องดำเนินการเป็นเรื่องแรกก็คือ การสร้างความชัดเจนในการบริหารทรัพย์สินส่วนกลาง และการสร้างข้อตกลงร่วมกัน


หากเป็นครอบครัวที่ใหญ่มีสมาชิกหลายคน การสื่อสาร การจัดสรรผลประโยชน์ นโยบายการจ้างงานของสมาชิกครอบครัว แผนการถือครองทรัพย์สิน และวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งในอนาคต ก็ควรที่จะมีการจัดทำ ไว้ในธรรมนูญครอบครัวให้เป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน


การจัดทำธรรมนูญครอบครัวจะช่วยกำหนดแนวทาง และกฎระเบียบภายในครอบครัวให้สมาชิกทุกคนได้เห็นถึงความชัดเจน ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการเกิดปัญหาระหว่างกันในอนาคตได้


การที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจนั้นเป็นหน้าที่ของสมาชิกทุกคนที่มีส่วนร่วม หากคุณเป็นเจ้าของกิจการ คุณต้องให้เวลากับการสื่อสารกับสมาชิกในครอบครัว อธิบายบทบาทและหน้าที่ของพวกเขาในปัจจุบันและอนาคต ความไม่ชัดเจนในระบบการบริหารเป็นสิ่งสำคัญที่หลายครอบครัวมักจะมองข้ามไป ดังนั้นถ้าคุณกำลังเป็นผู้บริหารธุรกิจหรือหัวหน้าครอบครัว การสื่อสารด้านระบบบริหารนั้นเป็นสิ่งที่จะขาดไม่ได้


3.การไม่มีบุคลากรที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจและไม่มีผู้สืบทอดตำแหน่ง


ธุรกิจครอบครัวมักจะนำคนในตระกูล เครือญาติขึ้นมารับตำแหน่งงานเพียงเพราะเป็นคนในครอบครัว การที่จะนำคนเข้ามาทำงานให้กับกิจการควรพิจารณาด้านความเหมาะสมในด้านของความสามารถเพื่อที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตขึ้น นอกจากนี้ ครอบครัวควรมีการพิจารณาในด้านการนำมืออาชีพที่เป็นบุคคลภายนอกเข้ามาช่วยบริหารด้วย

เราแนะนำ ระบบการเข้าทำงานควรจะมีความเป็นมืออาชีพเหมือนบริษัทที่ทำธุรกิจจริงๆ ก่อนจะนำคนในครอบครัวเข้ามารับตำแหน่งในธุรกิจ เราอยากให้คุณตั้งคำถามเหล่านี้

- สมาชิกที่จะเข้ามาทำงานในครอบครัวผ่านเกณฑ์ในการคัดเลือกอย่างไร?

- ต้องการประสบการณ์หรือการศึกษาด้านในเป็นพิเศษ?

- ระบบสวัสดิการหรือรายได้มีความเป็นมาตรฐานหรือไม่?

- มีการกำหนดรายละเอียดงาน เวลาทำงานที่ชัดเจนหรือไม่?

- มีการวัดผลด้านประสิทธิภาพการทำงานเหมือนพนักงานคนอื่นๆหรือไม่?

คำถามเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยในการคัดคนเข้าทำงาน รวมถึงช่วยคุณตั้งความคาดหวังจากสมาชิกที่จะเข้ามาทำงานให้กับธุรกิจครอบครัวได้



4.ขาดความรู้ด้านบริหารด้านการเงินบริษัท


การที่ไม่มีความรู้ด้านการบริหารการเงินบริษัท เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจครอ